รายงานผลการตรวจวิศวกรรมความปลอดภัยระบบไฟฟ้า
ขอบเขตการตรวจ
– หม้อแปลงไฟฟ้า
– เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
– เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)
– ตู้ควบคุมไฟฟ้า
– ระบบแหล่งจ่ายไฟฟ้าแยก (Isolated Power System)
– ระบบป้องกันฟ้าผ่า
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าและแสดงผล
– เครื่องวัดกระแสและแรงดันไฟฟ้า ยี่ห้อ KYORITSU รุ่น 2002PA
– เครื่องมือวัดค่าความต้านทานดิน ยี่ห้อ SONEL รุ่น MRU-120
– เครื่องถ่ายภาพความร้อน ยี่ห้อ FLIR รุ่น i50
รายชื่อผู้ตรวจ
นายเอกชัย แสงจันทร์ ตำแหน่ง นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
นายอภิวัฒน์ โตมร ตำแหน่ง นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
บันทึกผลการวัดหม้อแปลงไฟฟ้า ด้วยเครื่องมือตรวจวัด
รายการ | Phase A | Phase B | Phase C | อุณหภูมิ (๐C) | ค.ต.ท.ระบบสายดิน (Ohms) | หมายเหตุ | ||||
Volts. | Amp. | Volts. | Amp. | Volts. | Amp. | ขั้วต่อสาย | สาย | |||
ขนาด……315..…KVA ยี่ห้อ…….เอกรัฐ……… สถานที่ติดตั้ง ……………………………….. | – | 180 | – | 220 | – | 265 | 58.5 | 55 | 5.75 | ว/ด/ป |
เกณฑ์มาตรฐาน | 198-242 | ตามขนาดสายไฟฟ้า | 198-242 | ตามขนาดสายไฟฟ้า | 198-242 | ตามขนาดสายไฟฟ้า | ≤60๐C PEA | ≤60๐C PEA | ≤5 Ohms |
บันทึกผลการวัดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยเครื่องมือตรวจวัด
รายการ | Phase A | Phase B | Phase C | อุณหภูมิ (๐C) | ค.ต.ท.ระบบสายดิน (Ohms) | หมายเหตุ | ||||
Volts. | Amp. | Volts. | Amp. | Volts. | Amp. | ขั้วต่อสาย | สาย | |||
ขนาด……400..…KVA ยี่ห้อ…Stamford……… สถานที่ติดตั้ง ……………………………….. | – | – | – | – | – | – | – | – | – | ว/ด/ป |
เกณฑ์มาตรฐาน | 198-242 | ตามขนาดสายไฟฟ้า | 198-242 | ตามขนาดสายไฟฟ้า | 198-242 | ตามขนาดสายไฟฟ้า | ≤60๐C PEA | ≤60๐C PEA | ≤5 Ohms |
บันทึกผลการวัดความต้านทานการต่อลงดินระบบป้องกันฟ้าผ่า ด้วยเครื่องมือตรวจวัด
รายการ | ความต้านทานการต่อลงดิน (Ohms) | หมายเหตุ |
1. หอถังสูงระบบประปา | – | – ระบบชำรุด |
2. เสาวิทยุสื่อสาร | 0.01 | |
เกณฑ์มาตรฐาน | ≤5 Ohms |
ผลการตรวจ
รายการตรวจ | ผลการตรวจ | หมายเหตุ |
1. หม้อแปลงไฟฟ้า อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน มีการตรวจสอบ และบำรุงรักษาเป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | √ | |
2. สถานที่ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า อยู่ในสภาพที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและสะดวกในการบำรุงรักษา | √ | |
3. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน มีการตรวจสอบ และบำรุงรักษาเป็นประจำสม่ำเสมอ ตามรอบการทำงาน | √ | |
4. สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อยู่ในสภาพที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและสะดวกในการบำรุงรักษา | √ | |
5. เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน มีการ ตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นประจำสม่ำเสมอ | √ | |
6. สถานที่ติดตั้งเครื่องสำรองไฟฟ้า อยู่ในสภาพที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและสะดวกในการบำรุงรักษา | √ | |
7. ตู้ควบคุมไฟฟ้า อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน มีการตรวจสอบและ บำรุงรักษาเป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | √ | |
8. สถานที่ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า อยู่ในสภาพที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและสะดวกในการบำรุงรักษา | √ | |
9. ระบบแหล่งจ่ายไฟฟ้าแยก (Isolated Power System) อยู่ ในสภาพพร้อมใช้งาน มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็น ประจำสม่ำเสมอ | N/A | – ไม่มีใช้งาน |
10. ระบบป้องกันฟ้าผ่า อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน มีการ ตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | √ |
หมายเหตุ : √ หมายถึง เป็นไปตามข้อกำหนด
X หมายถึง ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด มีสภาพชำรุด ไม่พร้อมใช้งาน ไม่ปลอดภัย
N/A หมายถึง ไม่ได้ทำการตรวจ เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีใช้งาน
ข้อเสนอแนะ (เพิ่มเติมจากการสุ่มตรวจ)
- ไม่ได้ติดตั้งบุชชิ่งครอบหัวสายทางด้านแรงสูงของหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งอาจจะทำให้จุดต่อสายตัวนำไฟฟ้าทางด้านแรงสูงเกิดการสกปรกจากคราบน้ำฝนและฝุ่นละอองในอากาศ หรืออาจจะมีสัตว์เลื้อยคลานขึ้นไปบนหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งอาจจะทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าเกิดการระเบิดได้ ดังนั้นทางโรงพยาบาลจึงควรดำเนินการแก้ไข โดยการประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เข้ามาติดตั้งบุชชิ่งดังกล่าวเพิ่มเติม
รูปตัวอย่าง
- สารดักความชื้นของหม้อแปลงเริ่มเสื่อมสภาพ ควรดำเนินการประสานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าประจำปี
รูปตัวอย่าง สารดักความชื้นที่พร้อมใช้งาน
- ควรดำเนินการตัดแต่งกิ่งไม้ภายในบริเวณโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับแนวสายส่งไฟฟ้าทั้งแรงสูงและแรงต่ำ ให้มีระยะห่างจากแนวสายส่งไฟฟ้าอย่างน้อย 2 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุฉนวนของสายส่งชำรุด
- จุดต่อสายตัวนำภายในตู้ควบคุมไฟฟ้าเกิดความร้อนใกล้เกินค่ามาตรฐาน จึงควรตรวจสอบหาสาเหตุที่มาของความร้อนว่าเกิดจากสาเหตุใดและดำเนินการแก้ไข เพื่อรักษาความเสถียรของระบบส่งจ่ายไฟฟ้าและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในโรงพยาบาล